หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทบาทพ่อแม่กับการสอนลูกอ่านหนังสือ

พ่อแม่สามารถสอนลูกอ่านหนังสือได้ตั้งแต่วัยทารก ด้วยการพูดคุยกับเด็ก อ่านหนังสือหรือนิทาน ร้องเพลง จัดเตรียมสภาพแวดล้อมหรือสิ่งของที่เอื้อต่อการสอนอ่านหนังสือ ยิ่งสามารถสอนลูกอ่านหนังสือตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นวัยเด็กได้เร็วเท่าไร จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาและทักษะความรู้
พ่อแม่สามารถที่จะพัฒนาทักษะทางภาษาและความรู้ของลูกได้ดีกว่าครูที่อยู่ในโรงเรียน เพราะครูต้องดูแลเด็กนักเรียนในห้องเรียน ซึ่งมีมากกว่า20คนขึ้นไป การเอาใจใส่ในเด็กแต่ละคนก็สู้พ่อแม่ไม่ได้ เพราะพ่อแม่สอนหรือดูแลเด็กตัวต่อตัว จึงเอาใจใส่ดูแลและพัฒนาเด็กได้ดีกว่า มีความเข้าใจผิดของพ่อแม่ในการสอนอ่านหนังสือให้ลูกคือ
  • หน้าที่ของการสอนอ่านหนังสือ หรือให้ความรู้กับแด็กเป็นหน้าที่ของครูในโรงเรียน 100%
  • พ่อแม่ไม่มีความรู้หรือทักษะ ที่จะสอนลูกอ่านหนังสือ
  • พ่อแม่จะสับสนจากข้อมูลที่ได้รับมา ว่าวิธีใดดีที่สุดที่จะใช้สอนลูกอ่านหนังสือ

ด้วยภาระจากการทำงานในปัจจุบัน พ่อแม่มีเวลาน้อยมากที่จะใช้กับลูก หรือเมื่อกลับบ้านก็อยากจะพักผ่อนมากกว่า ทำให้เวลาที่จะให้กับลูกมีน้อย การสอนให้ลูกอ่านหนังสือจะสำเร็จได้ พ่อแม่ต้องใช้ความเสียสละ ความอดทน และความตั้งใจเป็นอยากมาก การสอนลูกอ่านหนังสือถ้าพ่อแม่ไม่มีเวลามาก ขอเพียงหาหนังสือเล่มเล็กๆมานั่งอ่านกับลูกด้วยความรัก ความตั้งใจที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังวันละนิดหน่อย แต่ทำเป็นประจำทุกๆวัน หรือที่มีโอกาสมากที่สุด แล้วันหนึ่งลูกหยิบหนังสือมาให้พ่อแม่อ่าน สิ่งนั้นจะเป็นความสำเร็จเบื้องต้นกับการสอนลูกอ่านหนังสือแล้ว

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.teaching-reading-fundamentals.com/
http://www.taiwisdom.org/

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประโยชน์ของการสอนอ่านหนังสือก่อนเข้าเรียน

การสอนการอ่านหนังสือหรือส่งเสริมการอ่านให้กับลูกของคุณก่อนเข้าเรียน  เด็กจะได้รับประโยชน์หลายๆอย่างดังนี้
- การพัฒนาทางสมอง พัฒนาการทางสมองและสติปัญญา จะพัฒนามากที่สุดในช่วงแรกเกิดถึงแปดปี สมองจะพัฒนา 85-90% ซึ่งการสอนหรือส่งเสริมการอ่าน เช่น การอ่านหนังสือ ร้องเพลง หรือเล่านิทาน สิ่งเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของสมองเด็กๆ
- สร้างความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูก เวลาที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ความใกล้ชิดกัน กิจกรรมที่ทำด้วยกัน ความสนุกสนานหรือตื่นเต้นจากเรื่องที่อ่านหรือนิทานที่เล่าให้ฟัง จะช่วยสร้างความผูกพันระหว่างพ่อแม่กับลูก
- ปรับตัวกับการเรียนในโรงเรียนได้ดีกว่า เด็กที่ได้รับการสอนการอ่านก่อนเข้าเรียน จะสามารถเรียนรู้หนังสือและวิชาต่างในโรงเรียนได้ดีกว่า เด็กที่เพิ่งจะหัดการอ่านเมื่อเข้าโรงเรียน เด็กกลุ่มนี้อาจจะเกิดแรงกดดันในการเรียน อาจจะส่งผลให้เด็กไม่ชอบการเรียนไปได้
- เด็กจะมีความมั่นใจในตัวเองและรู้สึกมีอิสระ เพราะเขามีความพร้อมที่จะเรียนรู้ในโรงเรียน
- พัฒนาทักษะการฟัง และช่วยกระตุ้นจินตนาการ
- พัฒนาทักษะการพูด การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ลูกจะได้เรียนรู้คำต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เด็กพัฒนาการพูดของเด็กด้วยตัวเด็กเอง
- ทำให้เด็กรู้จักวิธีอ่านหนังสือ เด็กจะรับรู้ได้ว่าต้องอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา รู้จักแยกตัวหนังสือออกจากรูปภาพ
- พัฒนาทักษะการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างตัวละครในหนังสือที่อ่านให้ลูกฟัง จะช่วยสร้างทักษะการสื่อสารของเด็ก
- รู้จักการใช้คำศัพท์ที่หลากหลาย และการใช้ประโยคได้เหมาะสม เมื่อต้องการสนทนาหรือสื่อสาร
- กระต้นทักษะการคิดเชิงตรรกะ รู้จักแนวคิดเชิงนามธรรม ประยุกต์ใช้ตรรกะในสถานการณ์ต่างๆ เข้าใจถึงเหตุและผลที่เกิดตามมา เพราะความสนุกและตื่นเต้นจากสถานการณ์ต่างๆที่เกิดในหนังสือ
- พร้อมรับกับสถนการณ์ใหม่ๆ เมื่อเด็กได้เจอเรื่องราวใหม่ๆ สถานที่ใหม่ๆ บุคคลหรือสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ย่อมจะทำให้เกิดความเครียดและแรงกดดัน การอ่านหนังสือทีมีเรืองราวคล้ายกับที่เด็กเจอ จะช่วยให้เด็กพร้อมรับกับสถานการณ์ใหม่เหล่านั้น
- เสริมสร้างสมาธิและระเบียบวินัย การที่ต้องหยุดเพื่อฟังการอ่านหนังสือของเด็ก เป็นการฝึกการสร้างสมาธิกับการอ่าน และยังฝึกความอดทนและรอเวลาฟังการอ่านหนังสือ
- ความรู้เกิดจากความสนุกในการอ่าน การที่เด็กมีความสุขหรือสนุกสนานเวลาอ่านหนังสือ เป็นกิจกรรมที่ดีกว่าที่จะให้เด็กหาความสนุกจากการดูโทรทัศน์ เล่นวีดีโอเกม
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.happylittlereader.com/
http://www.raisesmartkid.com/