หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สถานที่ไหนเหมาะที่จะให้ลูกอ่านหนังสือ

อีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการสอนลูกอ่านหนังสือคือ จะหาหรือเตรียมสถานที่ไหนหรือจัดเตรียมสถานที่ยังไง ให้ลูกอ่านหนังสือได้ดีที่สุด
            พ่อแม่มักจะคิดว่าต้องมีห้องหรือมุมใดมุมหนึ่งในบ้าน  ที่จะต้องจัดเตรียมเฉพาะเพื่อให้ลูกได้อ่านหนังสือได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องจัดสถานที่เฉพาะสำหรับดารอ่านหนังสือ พ่อมาสามารถที่จะอ่านหนังสือหรือให้ลูกอ่านหนังสือได้ เช่น ในห้องครัว โต๊ะอาหาร ห้องนั่งเล่น ห้องนอนชองลูกๆ สนามหญ้าหน้าบ้าน ในสวนสาธารณะ เพราะสิ่งที่เราต้องการคือ ให้ลูกๆรู้สึกว่าการอ่านหนังสืออามารถอ่านได้ทุกที่ แม้แต่ในที่ๆพ่อแม่คิดไม่ถึง เช่น ในรถยนต์ เวลาเดินทางไกลที่ใช้เวลาหลายชั่วโมง หรือเวลารถติดนานๆ พ่อแม่สามารถจัดเตรียมหนังสือไว้ให้ลูกๆได้อ่าน เพื่อแก้ความเบื่อในการเดินทางไกลหรือรถติดนานๆได้
            ทุกๆที่สามารถเป็นที่สำหรับอ่านหนังสือได้ แล้วแต่จินตนาการของพ่อแม่จะนึกได้ และจัดเตรียมหนังสือที่ไม่จำเป็นหนังสือเรียน หนังสือการ์ตูน หนังสืออ่านเล่นหรือหนังสืออะไรก็ได้ที่จะทำให้ลูกๆสนุกและเพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือ
            แต่ถ้าต้องการจัดห้องหรือมุมใดมุมหนึ่งของบ้านเพื่อให้ลูกได้อ่านหนังสือแบบจริงจัง สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ สภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ที่จะกระตุ้นการอ่านหนังสือของลูกๆ เช่น
            -การทำให้มีแสงสว่างที่ดีกับการอ่านหนังสือ
            -ทำให้สถานที่เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ปราศจากสิ่งที่จะรบกวนการอ่านหนังสือ เช่น โทรทัศน์,วิทยุ,คอมพิวเตอร์,ฯ
            -ตกแต่งห้องหรือมุมใดมุมหนึ่งในบ้าน ให้เอื้อกับการอ่านหนังสือ เช่น เตรียมหนังสือหลายๆประเภทเพื่อให้ลูกเลือกหนังสือที่ชอบ หรือเตรียมกระดาษ,ดินสอหรือสีเพื่อลูกๆอยากจะเขียนหนังสือหรือวาดรูป

            สิ่งที่สำคัญคือ พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการอ่านหนังสือ พยายามกระตุ้นให้ลูกอ่านหนังสือหรือชวนลูกอ่านหนังสือด้วยกัน

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

จะอ่านหนังสือให้ลูกฟังได้เมื่อไหร่

พ่อแม่ที่อยากอ่านหนังสือให้ลูกฟังอาจจะยังมีคำถามคาใจว่า แล้วเมื่อไรหรือลูกอายุเท่าไร ที่พ่อแม่จะอ่านหนังสือให้ลูกฟังได้
            ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กบอกว่า เด็กสามารถรับรู้เสียงของมารดาได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และแนะนำให้อ่านหนังสือหรือร้องเพลง เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของเด็กตั้งแต่ในครรภ์
            หลังจากลูกคลอดออกมาแล้ว การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง พูดคุยกับลูก และร้องเพลงให้ลูกฟัง ถึงแม้ลูกจะยังไม่รับรู้หรือเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน แต่การได้ยินเสียงของพ่อแม่จะช่วยกระตุ้นความสนใจ ในเสียงและจังหวะจากการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง พูดกับลูกและร้องเพลงให้ลูกฟัง ซึ่งจะช่วยพัฒนาการฟังและพัฒนาการทางภาษาและการเรียนรู้ของลูก และยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้วิธีการที่จะจดจำได้โดยไม่ต้องเข้าใจความหมายที่แท้จริง
            และที่สำคัญจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของลูก เพราะสมองจะมีการพัฒนามากที่สุดในช่วงแรกเกิดถึง3ขวบ เสียงที่ลูกได้ยินจะไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลสมองและความเชื่อมโยงระหว่างเซลสมอง
            การอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่แรกเกิด ช่วยสร้างความผูกพันระหว่างลูกกับพ่อแม่ จะเป็นช่วงเวลาที่มีค่าที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ใช่แค่พ่อแม่แม้แต่สมาชิกในครอบครัวทุกคนการอ่านหนังสือ พูดคุยกับเด็ก หรือร้องเพลงให้ฟัง จะช่วยสร้างความผูกพันได้เช่นกัน
          การอ่านหนังสือให้ลูกฟังยังจะช่วยสร้างนิสัยรักการอ่าน เพราะจะเป็นกิจกรรมแรกที่เด็กได้สัมผัส ความคุ้นเคยและความสนุกจากการที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกๆวันเป็นประจำ เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างนักอ่านที่ดี

            ยังมีประโยชน์และเหตุผลอีกมากมายที่ช่วยสนับสนุนว่า ทำไมพ่อแม่ควรจะอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่แรกเกิด แต่ขอไว้กล่าวถึงในบทความต่อไป  

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.earlymoments.com/promoting-literacy-and-a-love-of-reading/why-reading-to-children-is-important/
http://www.raisesmartkid.com/all-ages/1-articles/14-the-benefits-of-reading-to-your-child
http://www.rif.org/us/literacy-resources/articles/reading-aloud-to-your-child.htm
http://www2.ed.gov/parents/read/resources/readingtips/part_pg2.html#2
http://www.babycenter.com/0_reading-to-your-baby_368.bc
http://www.parents.com/baby/development/intellectual/age-by-age-guide-to-reading-to-your-baby/

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

จะสอนลูกอ่านหนังสือได้อย่างไร

เป็นที่เข้าใจตรงกันว่า การสอนลูกให้อ่านหนังสือได้ คือหัวใจของความสำเร็จในการเรียนของลูกๆ โดยเฉพาะถ้าสามารถสอนให้ลูกของเราอ่านหนังสือได้ก่อนเข้าโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและพัฒนาการของเด็กล้วนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า นี้คือบันไดแรกและเป็นบันไดที่มั่นคงที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียน เป็นการสร้างพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กได้อย่างดียิ่ง หรือเป็นถนนสู่การสร้างอัจฉริยะ
            แต่คำถามของพ่อแม่ก็คือ แล้วจะสอนลูกให้อ่านหนังสือได้ยังไง จากการที่ผู้เขียนได้ค้นหาข้อมูลมา สิ่งที่สำคัญคือ เด็กจะต้องรักในการอ่านหนังสือ
แล้วเด็กจะรักในการอ่านหนังสือได้อย่างไร ก็จะต้องทำให้เด็กคุ้นชินและสนุกสนานกับการอ่านหนังสือ เสมือนการอ่านหนังสือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเด็ก
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญการอ่านแนะนำว่าการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เป็นวิธีการที่ดีในการสอนลูกอ่านหนังสือ
คำถามของพ่อแม่ต่อมาก็คือ แล้วจะอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ตอนไหน จะเริ่มอ่านหนังสือให้ลูกฟังได้ตั้งแต่เป็นทารกเลยหรือไม่ หรือต้องรอลูกอายุเท่าไรถึงจะสอนอ่านหนังสือได้
หนังสืออะไรหรือแบบไหนที่จะใช้อ่านให้ลูกฟังได้
ที่ไหนจะเหมาะที่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
เมื่อรู้ว่าจะเริ่มอ่านหนังสือให้ลูกฟังได้ตอนไหนแล้ว เลือกหนังสือที่จะอ่านให้ลูกฟังได้แล้ว และหาสถานที่ ที่เหมาะกับการอ่านหนังสือให้ลูกฟังได้แล้ว คำถามสุดท้ายก็คือ
แล้วจะอ่านหนังสือให้ลูกฟังอย่างไรดี ที่จะทำให้ลูกชอบและสนุกไปกับการที่พ่อแม่อ่านหนังสือลูกฟัง
มีผู้เชี่ยวชาญมากมายได้แนะนำเทคนิคที่จะช่วยให้การอ่านหนังสือให้ลูกฟังประสบความสำเร็จ ซึ่งพ่อแม่ไม่ต้องทำตามเทคนิคทั้งหมดที่จะแนะนำในครั้งต่อไปก็ได้ สิ่งสำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่บอก คือ พ่อแม่ต้องทำให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่าง อ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกวัน อ่านหนังสือด้วยความรักที่มีให้แก่ลูก อ่านหนังสือให้ลูกฟังด้วยความสุขและสนุกสนาน ซึ่งลูกจะรับรู้และสัมผัสได้
นี่คือจุดเริ่มต้นที่ผู้เขียนเห็นว่า พ่อแม่น่าจะรับรู้และเตรียมตัว สำหรับการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง พ่อแม่บางท่านอาจจะเครียดหรือวิตกกังวลว่า ถ้าไม่มีเวลามากพอหรือไม่ถนัดที่จะอ่านหนังสือให้ลูกฟังแล้วจะทำยังไงดี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเน้นว่า หัวใจในการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง คือความรักและความตั้งใจ ซึ่งผู้เขียนจะคัดกรองเอาข้อมูลและเทคนิคที่ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำ มาบอกกล่าวในบทความต่อไป

 ข้อมูลอ้างอิง

http://www.rif.org/us/literacy-resources/articles/reading-aloud-to-your-child.htm
http://www.child2000.org/lit-tipsk.htm
http://dyslexia.yale.edu/PAR_10thingstohelpchild.html
http://goo.gl/XwzlqQ
http://www.taiwisdom.org/

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทบาทพ่อแม่กับการสอนลูกอ่านหนังสือ

พ่อแม่สามารถสอนลูกอ่านหนังสือได้ตั้งแต่วัยทารก ด้วยการพูดคุยกับเด็ก อ่านหนังสือหรือนิทาน ร้องเพลง จัดเตรียมสภาพแวดล้อมหรือสิ่งของที่เอื้อต่อการสอนอ่านหนังสือ ยิ่งสามารถสอนลูกอ่านหนังสือตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นวัยเด็กได้เร็วเท่าไร จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาและทักษะความรู้
พ่อแม่สามารถที่จะพัฒนาทักษะทางภาษาและความรู้ของลูกได้ดีกว่าครูที่อยู่ในโรงเรียน เพราะครูต้องดูแลเด็กนักเรียนในห้องเรียน ซึ่งมีมากกว่า20คนขึ้นไป การเอาใจใส่ในเด็กแต่ละคนก็สู้พ่อแม่ไม่ได้ เพราะพ่อแม่สอนหรือดูแลเด็กตัวต่อตัว จึงเอาใจใส่ดูแลและพัฒนาเด็กได้ดีกว่า มีความเข้าใจผิดของพ่อแม่ในการสอนอ่านหนังสือให้ลูกคือ
  • หน้าที่ของการสอนอ่านหนังสือ หรือให้ความรู้กับแด็กเป็นหน้าที่ของครูในโรงเรียน 100%
  • พ่อแม่ไม่มีความรู้หรือทักษะ ที่จะสอนลูกอ่านหนังสือ
  • พ่อแม่จะสับสนจากข้อมูลที่ได้รับมา ว่าวิธีใดดีที่สุดที่จะใช้สอนลูกอ่านหนังสือ

ด้วยภาระจากการทำงานในปัจจุบัน พ่อแม่มีเวลาน้อยมากที่จะใช้กับลูก หรือเมื่อกลับบ้านก็อยากจะพักผ่อนมากกว่า ทำให้เวลาที่จะให้กับลูกมีน้อย การสอนให้ลูกอ่านหนังสือจะสำเร็จได้ พ่อแม่ต้องใช้ความเสียสละ ความอดทน และความตั้งใจเป็นอยากมาก การสอนลูกอ่านหนังสือถ้าพ่อแม่ไม่มีเวลามาก ขอเพียงหาหนังสือเล่มเล็กๆมานั่งอ่านกับลูกด้วยความรัก ความตั้งใจที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังวันละนิดหน่อย แต่ทำเป็นประจำทุกๆวัน หรือที่มีโอกาสมากที่สุด แล้วันหนึ่งลูกหยิบหนังสือมาให้พ่อแม่อ่าน สิ่งนั้นจะเป็นความสำเร็จเบื้องต้นกับการสอนลูกอ่านหนังสือแล้ว

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.teaching-reading-fundamentals.com/
http://www.taiwisdom.org/

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประโยชน์ของการสอนอ่านหนังสือก่อนเข้าเรียน

การสอนการอ่านหนังสือหรือส่งเสริมการอ่านให้กับลูกของคุณก่อนเข้าเรียน  เด็กจะได้รับประโยชน์หลายๆอย่างดังนี้
- การพัฒนาทางสมอง พัฒนาการทางสมองและสติปัญญา จะพัฒนามากที่สุดในช่วงแรกเกิดถึงแปดปี สมองจะพัฒนา 85-90% ซึ่งการสอนหรือส่งเสริมการอ่าน เช่น การอ่านหนังสือ ร้องเพลง หรือเล่านิทาน สิ่งเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของสมองเด็กๆ
- สร้างความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูก เวลาที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ความใกล้ชิดกัน กิจกรรมที่ทำด้วยกัน ความสนุกสนานหรือตื่นเต้นจากเรื่องที่อ่านหรือนิทานที่เล่าให้ฟัง จะช่วยสร้างความผูกพันระหว่างพ่อแม่กับลูก
- ปรับตัวกับการเรียนในโรงเรียนได้ดีกว่า เด็กที่ได้รับการสอนการอ่านก่อนเข้าเรียน จะสามารถเรียนรู้หนังสือและวิชาต่างในโรงเรียนได้ดีกว่า เด็กที่เพิ่งจะหัดการอ่านเมื่อเข้าโรงเรียน เด็กกลุ่มนี้อาจจะเกิดแรงกดดันในการเรียน อาจจะส่งผลให้เด็กไม่ชอบการเรียนไปได้
- เด็กจะมีความมั่นใจในตัวเองและรู้สึกมีอิสระ เพราะเขามีความพร้อมที่จะเรียนรู้ในโรงเรียน
- พัฒนาทักษะการฟัง และช่วยกระตุ้นจินตนาการ
- พัฒนาทักษะการพูด การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ลูกจะได้เรียนรู้คำต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เด็กพัฒนาการพูดของเด็กด้วยตัวเด็กเอง
- ทำให้เด็กรู้จักวิธีอ่านหนังสือ เด็กจะรับรู้ได้ว่าต้องอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา รู้จักแยกตัวหนังสือออกจากรูปภาพ
- พัฒนาทักษะการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างตัวละครในหนังสือที่อ่านให้ลูกฟัง จะช่วยสร้างทักษะการสื่อสารของเด็ก
- รู้จักการใช้คำศัพท์ที่หลากหลาย และการใช้ประโยคได้เหมาะสม เมื่อต้องการสนทนาหรือสื่อสาร
- กระต้นทักษะการคิดเชิงตรรกะ รู้จักแนวคิดเชิงนามธรรม ประยุกต์ใช้ตรรกะในสถานการณ์ต่างๆ เข้าใจถึงเหตุและผลที่เกิดตามมา เพราะความสนุกและตื่นเต้นจากสถานการณ์ต่างๆที่เกิดในหนังสือ
- พร้อมรับกับสถนการณ์ใหม่ๆ เมื่อเด็กได้เจอเรื่องราวใหม่ๆ สถานที่ใหม่ๆ บุคคลหรือสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ย่อมจะทำให้เกิดความเครียดและแรงกดดัน การอ่านหนังสือทีมีเรืองราวคล้ายกับที่เด็กเจอ จะช่วยให้เด็กพร้อมรับกับสถานการณ์ใหม่เหล่านั้น
- เสริมสร้างสมาธิและระเบียบวินัย การที่ต้องหยุดเพื่อฟังการอ่านหนังสือของเด็ก เป็นการฝึกการสร้างสมาธิกับการอ่าน และยังฝึกความอดทนและรอเวลาฟังการอ่านหนังสือ
- ความรู้เกิดจากความสนุกในการอ่าน การที่เด็กมีความสุขหรือสนุกสนานเวลาอ่านหนังสือ เป็นกิจกรรมที่ดีกว่าที่จะให้เด็กหาความสนุกจากการดูโทรทัศน์ เล่นวีดีโอเกม
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.happylittlereader.com/
http://www.raisesmartkid.com/


  

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วัยของการเรียนรู้และเตรียมพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน

               สำหรับเด็กแรกเกิด พ่อแม่จะกังวลกับการพัฒนาการทางร่างกาย โรคภัยและการเจ็บป่วยต่างๆที่จะเกิดกับเด็กๆ แต่พ่อแม่อาจจะลืมไปว่า การพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กในวัยนี้ก็สำคัญเช่นกัน การพัฒนาทางร่างกายและสติปัญญาในวัยนี้จะพัฒนาควบคู่กันไป ทุกอย่างที่เกิดกับเด็กจะมีผลกับพัฒนาการอาจจะเป็นทางร่ากายหรือสติปัญญา หรือมีผลกับพัฒนาการทั้ง2ด้านของเด็ก เช่น ให้เด็กเล่นลูกบอล นอกจาจะมีช่วยพัฒนามือของเด็กที่ใช้จับลูกบอล ยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงด้วย
            พัฒนาการทางสติปัญญาและสมอง จะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึงแปดปี โดยเฉพาะในช่วง3ปีแรก สมองจะพัฒนามากที่สุด 85-90% ในช่วงนี้เด็กจะถูกโปรแกรมให้เรียนรู้สิ่งต่างๆที่เข้ามา ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างการเชื่อมโยงโครงข่ายของสมอง ทุกอย่างที่เด็กได้เห็น ได้ยิน ได้จับต้องจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
            แต่มีความกังวลว่า ถ้าเร่งรีบให้เด็กเรียนรู้การอ่าน จะส่งผลเสียกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่ ซึ่งการเร่งรีบให้เด็กเรียนรู้การอ่าน จะสร้างความเครียดหรือแรงกดดันกับเด็ก แน่นอนว่าจะมีผลเสียกับเด็ก อาจจะทำให้เด็กไม่ชอบการเรียนรู้ เด็กอาจจะเบื่อกับการเรียน หรืออาจจะสร้างผลกระทบกับเด็กมากกว่านี้ เช่น เป็นเด็กสมาธิสั้น
            การส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้ ไม่ใช่โดยการตั้งใจหรือเร่งให้เด็กเรียนรู้ แต่ให้เด็กเรียนรู้โดยผ่านกานเล่นหรือกิจกรรมต่างๆที่พ่อแม่ทำกับเด็ก เช่น การอ่านการ์ตูน เล่านิทาน หรือร้องเพลงให้เด็ก สิ่งเหล้านี้จะช่วยสร้างพัฒนาการเรียนรู้และการอ่านของเด็ก สิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก คือความสนุกในการเรียนรู้และกิจกรรมที่เด็กทำ ความสนุกจะกระตุ้นและดึงดูดให้เด็กอยากจะเรียนรู้ เป็นการเตรียมความพร้อมของเด็กก่อนเข้าโรงเรียน
            เด็กที่ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ หรือเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนเข้าโรงเรียน จะทำให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้และพร้อมที่จะรับกับสิ่งต่างๆ ที่ครูจะสอนกับเด็ก จะทำให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียน ในทางตรงกันข้าม เด็กที่ไม่ได้รับการส่งเสริมให้พร้อมกับการเรียนรู้ เด็กเหล่านี้จะมีความยากลำบากที่จะเรียนรู้ในการเรียน เรียนตามคนอื่นไม่ทัน หรือไม่ชอบการเรียนไปเลย ทำให้ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ไม่มีความตั้งใจที่จะเรียน
            ความสำคัญที่จะสร้างพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก คือ ความรัก ความเสียสละ ความอดทนและเวลาที่พ่อแม่จะมีให้กับลูกๆ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะสร้างพัฒนาการของเด็ก แต่ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง พ่อแม่กับลูกๆ

ข้อมูลจาก

             

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

เบื่อเรียน

               พ่อแม่ทุกคนต่างคาดหวังในตัวเด็ก  พยามยามจะหาวิธีที่จำให้ลูกประสบความสำเร็จอย่างมาก  จึงพยายามส่งเสริมให้ลูกเรียน เก่งและได้เกรดดีๆในโรงเรียน  เท่านั้นยังไม่พอยังให้ลูกได้เรียนพิเศษเพิ่มเติมอีก  บางคนให้ลูกเรียนพิเศษตั้งแต่ประถม ให้ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการเรียน  จนเด็กแทบไม่มีเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่น 
ความคาดหวังที่มีกับเด็กทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน  จะเป็นการสร้างแรงกดดันและความเครียดในการเรียนให้เด็ก  เด็กบางคนที่ทนรับกับแรงกดดันและความเครียดในการเรียนนี้ได้  ก็จะประสบความสำเร็จ  แต่กับเด็กบางคนที่ไม่อาจทนรับแรงกดดันและความเครียดในการเรียนนี้ได้  อาจจะเกิดผลกระทบได้มากน้อยต่างกันไป  เบื้องต้นสามารถแบ่งได้เป็น3ระดับคือ
1. มีการเครียด วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ                                          
2. มีอาการรุนแรงขึ้นจนมีผลกระทบต่อการเรียน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง อาจจะกลายเป็นวัยรุ่นที่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่และครูอีกต่อไป
3. เป็นระดับรุนแรงและมีผลกระทบอย่างมาก เด็กมีผลการเรียนตก ซึมเศร้า อยากตาย ร่างกายไม่มีพละกำลัง การทำงานของสมองเปลี่ยนแปลง
พ่อแม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดในการเรียนได้  โดยการให้เวลาในการทำกิจกรรมและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก  การแสดงความรักและความห่วงใย  ให้ความช่วยเหลือและทำความเข้าใจเด็ก  ไม่ดุหรือตำหนิเด็กมากเกินไป
ความสำคัญของการเลี้ยงดูลูกในวัยเด็ก  ไม่ใช่การยัดเยียดความรู้  แต่เป็นวัยสำหรับการพัฒนาความสามารถในการรับรู้และรู้จักนำความรู้มาใช้  ปลูกฝังให้เด็กมีจิตใจและอารมณ์มั่นคง  รับรู้สภาพรอบตัวและมีการตอบสนองที่ดี
ที่สำคัญสำหรับเด็กในวัยนี้คือ  หัวใจอันเปิดกว้างและจินตนาการสร้างสรรค์อันอิสระเสรี

ข้อมูลอ้งอิง
-http://www.taiwisdom.org/artclnchdev
-http://www.m-society.go.th/article_attach/11589/15896.pdf