หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560

เคล็ดลับการกระตุ้นสมองของลูก

        สมองของเด็กเป็นช่วงเริ่มแรกของการพัฒนาและเติบโต เส้นใยประสาทจะมีการเชื่อมโยงให้เป็นเครือข่าย แต่การเชื่อมโยงจะเกิดได้เมื่อได้รับการกระตุ้นจากการเรียนรู้ ที่เกิดจากการเล่นของเด็ก การอ่านหนังสือ เล่านิทานหรือร้องเพลงให้ลูกฟัง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสำคัญที่มี่ส่วนต่อการกระตุ้นการพัฒนาการสมอง
- สารอ็อกซิโทซินและสารเอ็นโดรฟิน จะหลั่งออกมาเวลาเด็กทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดอารมณ์ดี มีความสุขหรือความสนุกสนาน จะทำให้สมองเติบโตและเรียนรู้ได้ดี
- เซลเสมองกระจกเงา mirror neuron ทฤษฎีเซลสมองกระจกเงาที่ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสคร์ในอิตาลีชื่อGiacomo Rizzolatti and Laila Craighero กล่าวไว้ว่าเด็กสามารถเรียนรู้ได้โดยการสังเกตและเรียนแบบ เมื่อเห็นพ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัวทำอะไรหรือมีพฤติกรรมเช่นไร ก็จะทำตาม เช่นการอ่านหนังสือให้ลูกดูเป็นคัวอย่าง
- เครือข่ายใยประสาท การเชื่อมโยงเครือข่ายใยประสาทถูกกระตุ้นโดยการเรียนรู้ แต่การพัฒนาเซลสมองหรือการเชื่อมโยงใยประสาทที่ไม่ได้รับการกระตุ้นนานๆไปก็จะเสื่อมสลายไป การอ่านหนังสือเรื่องเดิมๆหรือเล่นอะไรซ้ำไปซ้ำมา เป็นการกระตุ้นให้เซลสมองและจุดเชื่อมโยงเครือข่ายใยประสาทพัฒนาได้แข็งแรงมากขึ้น
   
ขอมูลอ้างอิง
สปทชลบุรีเขต3 กลุ่มนิเทศติดตามและประเมิยผลการศึกษา
- นสพ.ไทยรัฐ
theAsianparent
MGR online

วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เล่นช่วยพัฒนาสมอง

                  พ่อแม่ส่วนใหญ่คิดว่าการที่ลูกฉลาดคือสามารถอ่านออกเขียนได้เร็วกว่าเด็กคนอื่น จึงพยายามมุ่งเน้นให้ลูกหัดอ่านเขียน ซึ่งเป็นการปั่นทอนความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก ที่ต้องการการพัฒนาทักษะ การคิด การฟัง การสังเกต การใช้มือ ที่จะพัฒนาได้โดยผ่านการเล่น ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก
                  การเล่นจึงเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของเด็ก ทีจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่างๆควบคู่กันไป ในช่วงระยะ 0-5ปี เซลสมองของเด็กจะมีการพัฒนาไปถึง 80% ของผู้ใหญ่ และจะมีการเพิ่มเซลสมองจำนวนมาก หลังจากพ้นช่วงนี้ไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มของเซลสมองอีก การเพิ่มหรือเติบโตของสมอง เกิดจากการได้รับสารอาหารที่เหมาะสม แต่การเล่นเป็นการให้ข้อมูลแก่สมองเพื่อจะกระตุ้นให้เซลสมองเกิดการเชื่อมโยงกัน แต่ถ้าเซลไม่ได้รับการกระตุ้นก็จะเสื่อมสลายไป
                ความสนุกสนานจากการเล่นจะเป็นโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น ถ้าพ่อแม่สังเกตจะพบว่า สิ่งใดที่เด็กเล่นแล้วมีความสุขสนุกสนาน เด็กก็จะเล่นสิ่งนั้นบ่อยๆ หรือนิทานที่เด็กฟังแล้วชอบ เด็กก็มักจะเล่าให้ฟังหลายๆรอบ จึงเปรียบเหมือนว่าสิ่งที่เด็กชอบเล่นหรือนิทานที่ฟังบ่อยๆ เป็นเหมือนการทบทวน การเรียนรู้ที่ได้จากการเล่นหรือนิทานที่ได้ฟัง
                ในทางตรงกันข้ามมีการศึกษาพบว่าความเครียดเป็นตัวขัดขวางการเรียนรู้ของเด็ก การที่เด็กต้องทำอะไรที่ไม่ชอบ เกิดความเครียดหรือคับข้องใจ จะทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้จากสิ่งนั้น
                รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงทิพวรรณ หรรษคุณาชัยกล่าไว้ว่า "การเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดนั้น พ่อแม่ไม่ควรกดดันหรือคาดหวังกับลูกมากเกินไป แต่ควรดำเนินทุกกิจกรรมไปด้วยความรักและความสนุกสนาน เมื่อลูกได้สัมผัสถึงความอบอุ่นและปราถนาดี ลูกก็พร้อมจะเรียนรู้ไปกับเราในทุกนาที"

ข้อมูลจาก
http://www.rajanukul.go.th
OKNATION BLOG
http://www.manager.co.th

วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ความสำดัญของการเล่น

               การเล่นคือการเรียนรู้เพื่อที่จะปรับตัวให้มีชีวิตรอด การเล่นเป็นส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก คือมีส่วนต่อการพัฒนาการทางสมอง สติปัญญา อารมณ์ การเข้าสังคม แฃะพัฒนาการทาง่างกาย ยิ่งเด็กมีโอกาสที่จะได้เล่นมากเท่าไร การเล่นจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการได้รวดเร็วมากขึ้น ยิ่งเด็กมีโอกาสได้สัมผัสหรือหยิบจับสิ่งของหลายๆอย่าง การพัฒนาทางกล้ามเนื้อมือและแขนที่ใช้จับสิ่งของก็จะมีมากขึ้น และการรับรู้ต่อรูปทรงหรือรูปร่างของสิ่งที่เด็กได้หยิบจับหรือเล่นด้วย ดังนั้นขึ้นอยู่กับโอกาสที่เด็กจะได้เล่น คือถ้าผู้ใหญ่ให้โอกาสที่เด็กจะได้เล่นมากเพียงไร การพัฒนาการของเด็กก็จะมีมากขึ้น ซึ่งความสำคัญของการเล่นของเด็กนั้น
              แม้แต่องค์การสหประชาชาติยังต้องกำหนดสิทธิในการเล่นของเด็กไว้ใน อนุสัญญาว่าด้วยสิทธฺของเด็ก และได้มีการจัดตั้งองค์กรระดับนานาชาติที่ดูแลเรื่องสิทธิเล่นของเด็ก คือ สมาคมเพื่อสิทธิทางการเล่นของเด็กว:International Play Right Association;IPA
            การศึกษาหรือทฤษฏี ที่เกี่ยวข้องกับการเล่นของเด็ก ได้มีการค้นพบมาหลยร้อยปีแล้ว ตั้งแต่ประมาณปี 1700's นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน Friedrich Froebel เป็นผู้ค้นพบและให้นิยามคำว่า "Kindergarten" (kinder=children and garten=garden) ซึ่ง Froebel แนะนำว่า วิธีที่ดีในการเรียนรู้ของเด็กคือการเล่น
            ในช่วงทศวรรษ 1900's นักจิตวิทยาทางการศึกษาชาวอเมริกัน John Dewey กล่าวไว้ว่า การเรียนที่ดีที่สุด คือการเล่นและการสัมผัสจากประสบการณ์จริงในชิวิต และยังกล่าวอีกว่า การจัดการศึกษาควรจะจัดบนพื้นฐานความสนใจของเด็ก และจัดกิจกรรมในการเรียนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.happylittlereader.com
http://www.taiwisdom.org